Wednesday, June 20, 2012

มอง IT Thai ในมุมนักออกแบบ


จะว่าไปเมืองไทยกำลัง จะเข้าสู่การร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Econicmic Comunity) วงการ it ก็เป็นหนึ่งในกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการเกษตรกรรม...​

แน่นอนว่าประเทศเราในวงการ it ก็ยังคงเป็นประเทศโลกที่สาม ในสายตาต่างชาติ เลือกที่จะมาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนในไทย เอาไปตีตราต่างชาติ แล้วก็กลับมาขายคนไทย ด้วยราคาที่ตลาดโลกกำหนดมาแล้ว

หลายๆคนเคยบ่นกับผมเรื่องนี้ว่า "ต่างชาติมันเอาวัตถุดิบเมืองไทยไปราคาถูก เอาไปติดยี่ห้อแล้ว กลับมาขายในราคาแพง" ผมเลยชี้แจงกับเพื่อนแบบอุปมาอุปมัยไปว่า เวลาเราจะสร้างบ้านสักหลัง คนคนเดียวคงทำไม่สำเร็จ เมืองไทยก็เป็นหนึ่งในผู้สร้างบ้าน แต่เราเป็นเหมือนกรรมกร ค่าแรงขั้นต่ำ เราไม่มีสถาปนิิกเป็นของตัวเอง เราไม่มีวิศวกรเป็นของตัวเอง ประเทศเรายังด้อยเรื่องการสนับสนุนด้านการออกแบบ ทั้งๆที่คนของเราแข็งแกร่งมาก แต่เราใช้คนอย่าไม่รู้คุณค่า สักเท่าไหร่

ผมเคยคุยกับวงการธุรกิจ it ในต่างประเทศมามากพอสมควร แต่เขากลับมองเมืองไทยว่า เมืองไทยมีทรัพยากรบุคคลด้านการออกแบบที่ดีมาก แต่ทำไมเมืองไทยไปให้ค่าความสำคัญกับโปรแกรมเมอร์มากเกินเหตุ...(หมายถึงเน้นไปทางรับจ้างผลิตมากกว่าทางคิดที่จะออกแบบเอง) ทั้งๆที่เราควรจะพลักดันนักออกแบบด้วย... ด้วยเหตุนี้ต่างชาติหลายบริษัทได้เล็งเห็น หลายท่านบอกกับผมว่า นักออกแบบเมืองไทยเก่งมาก เขาจึงต้องมาเปิดแผนกออกแบบที่ไทย แล้วใช้ โปรแกรมเมอร์ต่างชาติ (แต่รายได้เข้าบริษัทต่างชาติ) "ถ้าว่ากันตามจริง โปรแกรมเมอร์เมืองไทย โดยรวมยังสู้ต่างประเทศไม่ได้หรอก... ถึงจะมีก็น้อยและค่าตัวแพงเกินไป ถ้าเทียบกันแล้วเรายอมจ้าโปรแกรมเมอร์จากอินเดียที่ได้ประสิทธิภาพสูงกว่า แต่ค่าใช้จ่ายหายไปเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว" ;CEO singapore digital media

(พูดแบบนี้ ท่านโปรแกรมเมอร์ทั้งหลายอย่าเพิ่งน้อยใจ เดี๋ยวจะมี drama ตามมาอีก) 

ผมได้ลองศึกษาดูประเทศเพื่อนบ้างต่างๆ ผมพบว่าประเทศไต้หวันก็เริ่มมาจากการเป็นกรรมกร it นี้แหละรับจ้างผลิต จนปัจจุบันเค้าได้เน้นเรื่องการออกแบบ มากขึ้นจนสินค้า brand สินค้า taiwan เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก....คือ เขาผลิตเองได้ ตั้งแต่ชิ้นส่วน วิศวกรรมที่ดี และมีการออกแบบที่ดี การตลาดที่ดี เชื่อเถอะว่าเวลาคนซื้อสินค้าต่างๆ เว้บ!! แรกที่คนจะตัดสินใจคือรูปลักษณ์ภายนอก แล้วค่อยมาดูภายใน....​
เวลาคุณซื้อมือถือ สิ่งแรกที่จะดึงดูดสายตาคนได้เลย คือ "สวย" ข้อต่อมาคือ ฟังก์ชั่นการใช้งาน
แต่การทำงานในเมืองไทยเท่าที่ผมประสบมาก็คือ เขาใช้โปรแกรมเมอร์ เป็นคนออกแบบ ซึ่งออกมาก็ถูลู่ถูกัง หาความสวยไม่ได้เลย ไอที่ดูดีก็เหมือนจะไปลอกเขามา ไปเลียนแบบเขามา ซึ่งไม่มีอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเท่าไหร่...น้อยบริษัท ที่จะมีนักออกแบบดีๆ ทำงาน ที่น่าน้อยใจที่รายได้นักออกแบบเมืองไทยต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ในขณะที่โปรแกรมเมอร์เงินเดือนสูงลิ่ว.... และน้อยบริษัท ที่จะมีนักออกแบบทำงานได้เข้าขากับ โปรแกรมเมอร์….. ยกตัวอย่างเช่น

เวลามีโปรเจค ออกแบบ website หรืออะไรต่างๆ แน่นอนว่าลูกค้าที่เปิดเว็บไซต์ดูนั้น เขาไม่มีทางเห็น code ที่คุณเขียนว่าซับซ้อนเพียงไหน... เขาจะเห็นเพียงแค่หน้าตาภายนอก ว่ามันสวยดึงดูดใจ ใช้งานง่าย เวลานักออกแบบได้สร้างสรรค์สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ เพื่อที่จะดึงดูดสายตาหรือ impact คนดูนั้น เวลาสรุปงานเราจะพบ programmer หลายท่านบอกว่า 

"โอ้ย...ยากไม่ทำหรอก เปลี่ยนนั้นได้มั้ย ทำนี้ได้มั้ย"  (มันอาจจะไม่ได้เป็นทุกที่ แต่ส่วนใหญ่จะเจอ) น้อยที่นักจะเจอแบบว่าโอ้ มันท้าทายส่งมาเลยผมชอบ... ไม่ใช่วิสัยของโปรแกรมเมอร์ไทย ที่ผมรู้จักแน่ๆ ทีนี้เราต้องรักษาสมดุลระหว่างงานออกแบบ กับส่วนโปรแกรมให้ได้ ให้มันไปในทางเดียวกันได้

ที่ผมกล่าวมาผมไม่ได้ว่าจะน้อยใจ หรือลำเอียงเพราะผมเป็นนักออกแบบแต่อย่างใด …. เพียงแต่ว่า การเปิดเสรีอาเซียน เราจะต้องแข่งกับประเทศที่พร้อมกว่าในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านภาษา หากเราไม่พัฒนาตัวเอง ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่เราจะตกไปอยู่รั้งท้าย และตกที่นั่งลำบาก
ซึ่ง ณ ปัจจุบันเราแยก IT ว่าเป็นเรื่องของ วิศวกรรม และเทคโนโลยี แต่จริงๆแล้ว IT หรือ INFORMATION TECHNOLOGY มันอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา มันคือผลิตภัณฑ์ที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งถ้าเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสุนทรียะและการออกแบบที่จะใส่ลงไป มันก็คล้ายๆกับการกินข้าวเปล่า ซึ่งแทบไม่มีรสชาดอะไรเลย...และท้ายนี้ของให้ใช้ technology ในทางสร้างสรรค์ครับ

No comments:

Post a Comment